วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำราชาศัพท์






คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์

   แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้

แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้

   แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้






  1. พระมหากษัตริย์ 
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ 
  3. พระภิกษุ 
  4. ขุนนางข้าราชการ 
  5. สุภาพชน

ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ นั้นมีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
  1. รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
  2. การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์

เสื้อ



รองท้า



ของเสวย


ที่นอน

ม่าน, มุ้ง

ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ

ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด


ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว

ฉลองพระองค์



ฉลองพระบาท



เครื่อง


พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 

ผ้าเช็ดหน้า



กระจกส่อง



ข้าว



น้ำกิน

ตุ้มหู

ช้อน

ช้อนส้อม

ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก  

น้ำชา

เหล้า

กางเกง

ซับพระพักตร์



พระฉาย



พระกระยาเสวย

( พระมหากษัตริย์ )


พระสุธารส

พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)


คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์

ผม -- พระเกศา

ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ

หน้าผาก -- พระนลาฎ

ท้อง -- พระอุทร

หลัง -- พระขนอง

นิ้วมือ -- พระองคุลี

บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 


ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา

ไรฟัน -- ไรพระทนต์

ตะโพก -- พระโสณี

แข้ง -- พระชงฆ์

นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา

คอ -- พระศอ

เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก


คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนี,พระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 


คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา
 คำศัพท์
คำราชาศัพท์
คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ดู  
ทอดพระเนตร
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ให้
พระราชทาน
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
อยากได้ 
ต้องพระราชประสงค์
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
เขียนจดหมาย 
พระราชหัตถเลขา
ไหว้
ถวายบังคม
แต่งตัว 
ทรงเครื่อง
อาบน้ำ
สรงน้ำ
มีครรภ์ 
ทรงพระครรภ์
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
หัวเราะ 
ทรงพระสรวล
นอน
บรรทม
รับประทาน 
เสวย
นั่ง
ประทับ
ป่วย
ประชวร
ไป
เสด็จ
ชอบ
โปรด


คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 
คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์

พระบรมราชินี

พระบรมราชนนี

พระบรมโอสรสาธิราช

พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ


คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป



การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ

การใช้คำว่า พระ” “พระบรม” “พระราช
พระใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
พระบรมใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
พระราชใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้น

การใช้คำว่า ทรงมีหลัก 3 ประการ คือ
นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ ทรงนำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น

การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ 
ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่าเฝ้าฯรับเสด็จย่อมาจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จไม่ใช้คำว่าถวายการต้อนรับ

คำว่าคนไทยมีความจงรักภักดีหรือแสดงความจงรักภักดีใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า ถวายความจงรักภักดี

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะและพระราชอาคันตุกะใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่าราชนำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีราชนำหน้า

ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวายถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย




คำสรรพนาม






         คำสรรพนาม  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องใช้ชื่อซ้ำ หรือไม่ต้องการเรียกชื่อ
นั้นโดยตรง    คำสรรพนาม  แบ่งย่อยได้    ชนิด   ดังนี้


            สรรพนามแทนบุคคล  (บุรุษสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ผม  ฉัน  ดิฉัน  เรา   หรือคำที่ใช้แทนผู้ฟัง  เช่น  เธอ  ท่าน  คุณ   และคำที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งที่เรากล่าวถึง เช่น มัน   แก  เขา  ท่าน  เป็นต้น

            สรรพนามใช้ชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้  ได้แก่  นี่  นี้  ถ้าห่างออกไป จะใช้ นั่น  นั้น  และถ้าห่างที่สุดจะใช้  โน่น  โน้น  นู่น  นู้น   เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น
  • นั่นเป็นรถของคุณพ่อ                
  • ฉันชอบอยู่ที่นี่มากกว่าที่โน่น


            สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ใช้ถาม  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน    เช่น                           
ใครจะไปบ้าง      
  •  อะไรอยู่ในตู้       
  •  ไหนของฉัน                           


           ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)   เป็นสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ   ได้แก่  ใคร  อะไร   ซึ่งมีรูปซ้ำกับสรรพนามใช้ถาม    แต่ความหมายจะแสดงความไม่แน่นอน    ไม่ได้ใช้ถามบางครั้งจะใช้คำซ้ำ  เช่น  ใดๆ  ใครๆ   อะไรๆ  ตัวเอย่างเช่น 
  •  ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
  •   อะไรๆ ฉันก็กินได้
  •   ใครๆ ก็ชอบคนเก่ง


    สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  แบ่งพวก หรือรวมพวก (วิภาคสรรพนาม)  เป็นคำแทนนามข้างหน้า  เพื่อให้รู้ว่านามนั้นแยกได้เป็นส่วนๆ  เช่นเดียวกัน  แต่ทำกริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันอยู่หรือเกี่ยวข้องกัน  เช่น  ทหารยิงกัน  ผัวเมียตีกัน  เขารักซึ่งกันและกัน  นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็เรียน

        ประพันธ์สรรพนาม  เป็นคำสรรพนามที่ใช้เป็นบทเชื่อมข้อความหรือประโยคที่เกี่ยวกับนามที่อยู่ข้างหน้า  มีอยู่ ๓ คำ  คือ   ที่   ซึ่ง   อัน   ตัวอย่าง
  •  เขาตีแมวที่กินปลาย่าง
  •  หล่อนรับประทานอาหารซึ่งแม่ปรุงให้
  •  แป้งหอมตรามดแดงช่วยถนอมผิวอันบอบบางของทารก


        สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า   เช่น
  • คุณนายเธออยากจะมีงานมากขึ้น
  • นายแสวงเขาคงจะเรียนไม่จบ
  • คุณครูท่านชอบคุยเรื่องส่วนตัว