วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำสรรพนาม






         คำสรรพนาม  เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องใช้ชื่อซ้ำ หรือไม่ต้องการเรียกชื่อ
นั้นโดยตรง    คำสรรพนาม  แบ่งย่อยได้    ชนิด   ดังนี้


            สรรพนามแทนบุคคล  (บุรุษสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ผม  ฉัน  ดิฉัน  เรา   หรือคำที่ใช้แทนผู้ฟัง  เช่น  เธอ  ท่าน  คุณ   และคำที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งที่เรากล่าวถึง เช่น มัน   แก  เขา  ท่าน  เป็นต้น

            สรรพนามใช้ชี้ระยะ (นิยมสรรพนาม)  เป็นคำที่ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้  ได้แก่  นี่  นี้  ถ้าห่างออกไป จะใช้ นั่น  นั้น  และถ้าห่างที่สุดจะใช้  โน่น  โน้น  นู่น  นู้น   เป็นต้น   ตัวอย่างเช่น
  • นั่นเป็นรถของคุณพ่อ                
  • ฉันชอบอยู่ที่นี่มากกว่าที่โน่น


            สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม)  เป็นสรรพนามที่ใช้ถาม  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน    เช่น                           
ใครจะไปบ้าง      
  •  อะไรอยู่ในตู้       
  •  ไหนของฉัน                           


           ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม)   เป็นสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ   ได้แก่  ใคร  อะไร   ซึ่งมีรูปซ้ำกับสรรพนามใช้ถาม    แต่ความหมายจะแสดงความไม่แน่นอน    ไม่ได้ใช้ถามบางครั้งจะใช้คำซ้ำ  เช่น  ใดๆ  ใครๆ   อะไรๆ  ตัวเอย่างเช่น 
  •  ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
  •   อะไรๆ ฉันก็กินได้
  •   ใครๆ ก็ชอบคนเก่ง


    สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  แบ่งพวก หรือรวมพวก (วิภาคสรรพนาม)  เป็นคำแทนนามข้างหน้า  เพื่อให้รู้ว่านามนั้นแยกได้เป็นส่วนๆ  เช่นเดียวกัน  แต่ทำกริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันอยู่หรือเกี่ยวข้องกัน  เช่น  ทหารยิงกัน  ผัวเมียตีกัน  เขารักซึ่งกันและกัน  นักเรียนบ้างก็เล่นบ้างก็เรียน

        ประพันธ์สรรพนาม  เป็นคำสรรพนามที่ใช้เป็นบทเชื่อมข้อความหรือประโยคที่เกี่ยวกับนามที่อยู่ข้างหน้า  มีอยู่ ๓ คำ  คือ   ที่   ซึ่ง   อัน   ตัวอย่าง
  •  เขาตีแมวที่กินปลาย่าง
  •  หล่อนรับประทานอาหารซึ่งแม่ปรุงให้
  •  แป้งหอมตรามดแดงช่วยถนอมผิวอันบอบบางของทารก


        สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า   เช่น
  • คุณนายเธออยากจะมีงานมากขึ้น
  • นายแสวงเขาคงจะเรียนไม่จบ
  • คุณครูท่านชอบคุยเรื่องส่วนตัว

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น